วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2560

เตรียมความพร้อมก่อน Admission




เตรียมความพร้อมก่อน Admission
           ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคมนี้คงจะเป็นเวลาสำคัญของน้องๆ มัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่จะต้องเข้าสู่สนามสอบครั้งสำคัญอีกครั้ง นั่นคือการคัดเลือกเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งในปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากพอสมควร เพื่อให้ได้นักศึกษาที่มีความสามารถเหมาะสมกับสาขาวิชาที่เลือกเรียน การสอบเพื่อวัดความสามารถทางวิชาชีพจึงมีผลต่อการสอบมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือการสอบวัดระดับ GAT และ PAT นั่นเอง


       ตามความหมายแล้ว Admission ไม่ใช่การสอบเหมือนกับการ Entrance แต่เป็นระบบการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของรัฐ


           การคัดเลือกด้วยวิธี Admission คือการคัดเลือกโดยการสอบ และรู้ผลคะแนนก่อนจึงเริ่มรับสมัครเพื่อเลือกคณะที่ต้องการ ต่างกับการสอบ Entrance ที่จะเลือกคณะก่อน แล้วจึงสอบวัดผล ซึ่งในระบบ Entrance นั้นนักเรียนจะไม่ทราบความสามารถของตัวเอง และเลือกแต่คณะตามแฟชั่นนิยม ทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยไม่ได้คุณภาพเท่าที่ควร จึงได้มีการประกาศใช้ระบบ Admission ล่วงหน้า 3 ปี เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนของนักเรียนที่กำลังสอบเข้าในช่วงเวลานั้น โดยระบบ Admission จะมีการอ้างอิงผลการเรียนตลอดระดับชั้นมัธยม (คะแนนGPA และ GPAX) รวมไปถึงการวัดความถนัดทางด้านวิชาเฉพาะต่างๆ ซึ่งเราเคยได้รู้จักกันในการสอบ O-Net และ A-Net นั่นเอง

       สิ่งที่น้องๆ จะต้องเตรียมตัว และทราบข้อมูลก่อนการ  จำนวนนักศึกษาของแต่ละคณะที่รับนั้นจะถูกแบ่งออกไปเป็น
 1. โครงการโควต้าของมหาวิทยาลัย –    ซึ่งมหาวิทยาลัยภูมิภาคจะมีโควต้าให้แก่นักเรียนในพื้นที่ในจังหวัดนั้นๆ หรือจังหวัดใกล้เคียง
 2. โครงการความสามารถพิเศษ – คือการรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านดนตรี และกีฬา เป็นต้น
 3. โครงการรับตรง – คือการสอบตรงเข้าในคณะนั้นๆ โดยไม่เลือกเป็นลำดับตามปกติ

       โดยจำนวนนักศึกษาโครงการพิเศษทั้ง 3 โครงการนั้นจะมีจำนวน 
50 – 70% จากนักศึกษาที่ได้รับทั้งหมด ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ว่าจะกำหนดจำนวนเป็นเท่าใด เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังคงให้โครงการพิเศษเพียง 50% และมหาวิทยาลัยภูมิภาคต่างๆอาจจะให้ถึง 70% และรับจากการ Admissionเพียง 30% เท่านั้น โดยจะมีการรับสมัครประมาณวันที่ 11 เมษายน ใช้เวลาประมาณ 10 วัน โดยจะต้องนำคะแนนสอบที่มีอยู่ไปยื่นเสนอเข้าระบบ Admission ตามลำดับคณะที่เลือกได้มากที่สุด 4 อันดับ โดยมีค่าใช้จ่ายอันดับแรก 100 บาท อันดับต่อๆ ไปอันดับละ 50 บาท


          



  
5. วิธีการสมัครสอบ O-Net

6. วิธีการสมัครสอบ GAT - PAT


7. วิธีการสมัครสอบ 9 วิชาสามัญ


ไม่ควรจะลืม หรือทำหาย  ก็คือ ใบเข้าห้องสอบที่ Print ได้หลังจากเราสมัครวิชาที่สอบ และได้รับการยืนยันเรียบร้อยแล้วซึ่งในใบเข้าห้องสอบจะระบุเลขประจำตัว 13 หลั, เลขที่นั่งสอบ, สถานที่สอบและวัน-เวลาของวิชาที่สอบซึ่งควรเก็บใบนี้ไว้จนกว่าจะถึงวันประกาศผลสอบเพราะ
ต้องใช้ในการยืนยันผลสอบด้วย
          สุดท้ายศ.ดร.อุทุมพรได้ฝากคำแนะนำให้กับน้องๆที่กำลังจะขึ้น ม.5 ทุกคนว่า ควรจะเลือกสอบวิชา GAT ก่อน เพราะเป็นวิชาที่สอบได้ 2 ครั้ง และไม่จำเป็นต้องใช้เนื้อหาจากการเรียน ใช้ประสบการณ์และความรู้เฉพาะตัวเท่านั้น ส่วนการสอบ PAT นั้นควรจะรอให้ถึงม.6 ก่อน เพราะเป็นวิชาเฉพาะทาง ที่ต้องใช้ความรู้ของหลักสูตร ม.6 อีกทั้งบางคณะไม่จำเป็นต้องใช้คะแนน PAT ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องสอบก็ได้ และเมื่อทำข้อสอบควรจะมั่นใจในคำตอบก่อนจะระบายสีเลือกคำตอบ เพราะหากตอบผิดคะแนนจะถูกหักลบออก ถึงแม้จะทำถูกบางข้อก็อาจจะไม่ได้คะแนนหากตอบผิดเยอะๆ
     ปัญหาของเด็ก ม.6 และเด็กรุ่นใหม่ๆ ที่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นคงไม่ได้มาจากความสามารถเพียงอย่างเดียว แต่ปัญหาได้เกิดขึ้นจาก “การไม่เข้าใจตนเอง” ไม่รู้ว่าตัวเองถนัดอะไร ชอบหรือไม่ชอบสิ่งใด การเลือกอนาคตในรั้วมหาวิทยาลัยตามแฟชั่นนิยมนั้นอาจจะมีผลกระทบในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยปิดไม่ค่อยจะเอื้อโอกาสให้เปลี่ยนย้ายคณะเท่าใดนัก ทำให้หลายคนต้องเสียโอกาสเพราะรู้ตัวเมื่อสายเสียแล้ว




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น